วิธีการทำความสะอาดนาฬิกาข้อมือที่คุณอาจไม่รู้

ข้อความตัวอย่างจาก Pantip / tarad nalika

การทำความสะอาดนาฬิกาข้อมือหลังการใช้งาน

โดยปกติแล้วนาฬิกาข้อมือที่ผ่านการใช้งานจะมีคราบเหงื่อ น้ำ หรือ สิ่งสกปรกอื่นสะสมอยู่ที่สายนาฬิกา และตัวเรื่อนนาฬิกา ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการผุกร่อน หรือเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ โดยเฉพาะตามข้อต่อระหว่างชิ้นส่วนต่างๆ เช่น ระหว่างตัวเรื่อนนาฬิกาและฝาหลัง หรือระหว่าข้อต่อของสายนาฬิกา
ดังนั้น หลังจากการใช้งานควรที่จะทำความสะอาดนาฬิกา ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น
1. ควรล้างทำความสะอาดตัวเรื่อนด้วยแชมพูอ่อนๆ หรือน้ำสะอาด โดยอาจใช้แปรงสีฟันช่วยขัด บริเวณที่เป็นซอก ข้อต่อ ต่างๆ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง
2. เช็ดด้วยผ้าแห้งที่อ่อนนุ่ม
3. ใช้ไดร์เป่าลมร้อน โดยตั้งอุณหภูมิไม่สูงมากนัก เป่าไล่ความชื้นอีกครั้ง โดยบเฉพาะบริเวณที่เป็นข้อต่อต่างๆ (ใช้นาฬิกาวางบนมือ แล้วใช้ลมร้อนเป่า ถ้ารู้สึกว่ามือข้างที่วางนาฬิการ้อนให้หยุดเป่า หรือ ลดอุณหภูมิลง)

หมายเหตุ

1. กรณีที่ตัวเรือนทำด้วยพลาสติก ห้ามใช้ลมร้อนเป่าโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ตัวเรือนเสียรูป หรืออุปกรณ์ประกอบเสียหายได้
2. กรณีนาฬิกาที่ไม่มีคุณสมบัติการกันน้ำ ให้ทำความสะอาด โดยใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ แล้วเช็ด

1. กรณีที่เป็นสายโลหะ ให้ทำความสะอาดด้วยวิธีการเดียวกับ การทำความสะอาดตัวเรือนนาฬิกา
2. กรณีที่เป็นสายหนัง ให้ใช้ผ้านุ่ม ชุบน้ำหมดๆ แล้วเช็ดทำความสะอาด
3. กรณีที่เป็นสายยาง หรือ พลาสติก สามารถล้างทำความสะอาดได้ แต่ห้ามใช้ลมร้อนเป่าโดยเด็ดขาด

* กรณีที่นาฬิกาเปียกน้ำ ให้เช็ดทำความสะอาดตามข้อแนะนำข้างต้น ก่อนที่จะทำการเก็บหรือวางไว้

1. ในกรณีที่นาฬิกาเปียกน้ำ ควรที่จะทำความสะอาดตามวิธีการก่อนที่จะทำการเก็บรักษา
2. ไม่ควรวางนาฬิกาไว้ใกล้กับแหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก เช่น บริเวณหลังทีวี หรือ ใกล้โทรศํพท์มือถือ เพราะอาจทำให้นาฬิกาทำงานผิดพลาด โดยเฉพาะนาฬิกาประเภท Analog Quartz (ควอทซ์เข็ม)
3. ไม่ควรเก็บนาฬิกาไว้ในสถานที่ ที่มีความชื้นสูง หรือ ความร้อนสูง